วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2556

ผลเสียจากการใช้สารสเตียรอยด์


                      ผลข้างเคียงจากการใช้สารสเตียรอยด์ 


อนาบอลิค แอนโดรจีนิค สเตียรอยด์ *(Anabolic-androganic steroids AAS) มีผลกระทบในระดับสูง ต่อ ระบบการทำงานที่สำคัญๆจำนวนมากของร่างกาย เรื่องจริงทางการแพทย์ที่เกี่ยวเนื่องกับปัญหาการใช้สารสเตอร์รอยด์ มีดังนี้ 
เกิดการเปลี่ยน กระบวนการทำงานของตับ ตับจะต้องรับหน้าที่หนักมากหากเรารับเอาสารสารสเตียรอยด์เข้าไปในร่างกาย และหากใช้สารสเตียรอยด์ครั้งละจำนวนมากๆเป็นระยะเวลายาวนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโดยวิธีรับประทานสารนี้เข้าไป มันจะสามารถทำให้เกิดภาวะน้ำดีคั่งค้างในท่อน้ำดี และโรคดีซ่าน ในระดับที่รุนแรง, ภาวะเลือดไหลออกเป็นจำนวนมาก และ แม้กระทั่งมะเร็งตับ ซึ่งเป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้ผู้ที่เข้ารับการรักษาต้องเสียชีวิตลง 
เกิดการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานของหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ การใช้สารสเตียรอยด์สามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงกลไกการแข็งตัวของเลือด, กระบวนการเผาผลาญกลูโคส และยังมีผลต่อระดับไตรกลีเซอไรด์ และระดับคอเลสเตอรอลในกระแสเลือดอีกด้วย การใช้สารสเตียรอยด์ในรูปแบบการรับประทานสามารถนำไปสู่ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง, 
ระดับกลูโคลสลดต่ำลง และ ความทนทานต่อเบาหวานทั้งในการรับประทานและทางกระแสเลือดลดลง ยังเกี่ยวพันถึงนัยสำคัญเกี่ยวกับภาวะดื้ออินซูลินอีกด้วย กล่าวได้ว่าสารสเตียรอยด์เป็นตัวเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเกี่ยวที่กับหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ 
เพิ่มความตึงเครียดในระบบประสาทและหรือความดันโลหิต. ซึ่งสามารถนำไปสู่โรคความดันโลหิตสูง และการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงของสมดุลของสารละลายและของเหลวภายในร่างกาย 
ลดการผลิตฮอร์โมนเพศชาย(Testosterone)ลงจากระดับปกติ ในร่างกายของเรามีกลไกในการเฝ้าดูปริมาณ ฮอร์โมนเพศชายที่มีอยู่ระบบและคอยทำการเตือนให้ระบบต่อมไร้ท่อทำการเพิ่มหรือลดการผลิตฮอร์โมนออกมา แต่เมื่อเราได้รับสเตียรอยด์เข้าไป ร่างกายจะเข้าใจว่าการเพิ่มปริมาณสารนี้เข้ามามีมากเกินความจำเป็น จึงพยายามที่จะทำการลด หรือ ทำการหยุดกระบวนการผลิตฮอร์โมนเพศชายลง ซึ่งสามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในความต้องการทางเพศ และ การทำงานของระบบอื่นๆจำนวนมากที่เกี่ยวกับสรีรวิทยาและทางด้านจิตใจที่ทำงานสัมพันธ์กับระดับฮอร์โมน อย่างเช่น ความก้าวร้าวเพิ่มขึ้น, การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของปริมาณไขมันภายในร่างกาย 
เกิด Androgenic effect (ผลกระทบจากฮอร์โมนเพศชาย) เช่น ขนดกขึ้นตามหน้าตาและร่างกาย, ผิวมัน, หน้ามัน ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดสิว, ภาวะองคชาตมีการแข็งตัวนานเกินปกติ, ผมบางศีรษะล้าน, ต่อมลูกหมากโต และ การชะงันของปลายกระดูกยาว** (กระดูกหยุดเจริญเติบโต) (มีคำอธิบายด้านล่างของหน้าครับ - ผู้แปล) 
นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นยังมีผลกระทบอื่นๆที่พบบ่อยเช่น 
-เป็นตระคิว และกล้ามเนื้อกระตุก 
-การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของความก้าวร้าว 
-อาการปวดศีรษะ 
-เลือดกำเดาออก 
-เวียนศีรษะ หน้ามืดเป็นลม เซื่องซึม 
-มีผื่นขึ้นตามผิวหนัง 
-เจ็บหัวนม 
-ภาวะเต้านมโตในเพศชาย 
-ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ 


ข้อมูลจาก tuvayanon

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น